คำอธิบายรายวิชา
ศึกษา ฝึกทักษะ/กระบวนการในสาระต่อไปนี้
ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล สถิติศาสตร์ คำสำคัญในสถิติศาสตร์ ประเภทของข้อมูล สถิติศาสตร์เชิงพรรณนาและสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน
การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่ การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภาพ
การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณด้วย
ตารางความถี่ การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแผนภาพ ค่าวัดทางสถิติ
ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น ความหมายและชนิดของตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะ
เป็นของตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง
โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าโดย
การปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน
เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างมีระบบ มีระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
- ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
- บอกความหมายและประโยชน์ของสถิติศาสตร์ พร้อมทั้งสามารถอธิบายได้ว่าการนำเสนอข้อมูลที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ก่อให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่
2. ระบุประชากร ตัวอย่าง ตัวแปร ข้อมูล พารามิเตอร์ และค่าสถิติจากสถานการณ์ที่กำหนด
3. จำแนกประเภทของข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล ระยะเวลาที่จัดเก็บ หรือลักษณะของข้อมูล
4. ระบุได้ว่าสถานการที่กำหนดใช้วิธีการของสถิติศาสตร์เชิงพรรณนาหรือสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน
5. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่และแผนภาพ พร้อมทั้งสามารถสรุปผลที่ได้จากการนำเสนอข้อมูลด้วยตารางความถี่และแผนภาพแบบต่างๆ
6. สามารถวิเคราะห์และนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณด้วยตารางความถีและแผนภาพ(ฮิสโทแกรม แผนภาพจุด แผนภาพลําต้นและใบ แผนภาพกล่อง และแผนภาพ การกระจาย) พร้อมทั้งสามารถสรุปผลที่ได้จากการนําเสนอข้อมูลด้วยตารางความถี่และแผนภาพแบบต่าง ๆ
7. หาค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ําหนัก มัธยฐาน และฐานนิยม) พร้อมทั้งเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูลที่เหมาะสมเป็นตัวแทนของข้อมูลและใช้ค่ากลางของข้อมูลในการแก้ปัญหา 8. หาค่าวัดการกระจายสมบูรณ์ (พิสัย พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวน) และค่าวัดการกระจายสัมพัทธ์ (สัมประสิทธิ์การแปรผัน) พร้อมทั้งเลือกใช้ค่าวัดการกระจายที่เหมาะสมในการอธิบายการกระจายของข้อมูลและใช้ค่าวัดการกระจายในการแก้ปัญหา
9. หาค่าวัดตําแหน่งที่ของข้อมูล (ควอร์ไทล์และเปอร์เซ็นไทล์) พร้อมทั้งใช้ค่าวัดตําแหน่งที่ของข้อมูลในการแก้ปัญหา
10. จําแนกได้ว่าตัวแปรสุ่มที่กําหนดให้เป็นตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่องหรือตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง
11. เขียนแสดงการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง
12. หาค่าคาดหมายและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง พร้อมทั้งใช้ในการแก้ปัญหา
- 13. ตรวจสอบได้ว่าการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่องเป็นการแจกแจง
เอกรูปไม่ต่อเนื่องหรือไม่
14. ใช้ความรู้เกี่ยวกับการแจกแจงทวินามในการแก้ปัญหา
15. หาความน่าจะเป็นที่ตัวแปรสุ่มปกติจะมีค่าอยู่ในช่วงที่กําหนด
16. ใช้ความรู้เกี่ยวกับการแจกแจงปกติและการแจกแจงปกติมาตรฐานในการแก้ปัญหา
จำนวน 16 ผลการเรียนรู้