ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้ วิถีการดำเนินชีวิตของศาสนิกชนศาสนาอื่น หน้าที่ชาวพุทธ และการเข้าร่วมศาสนาพิธี และพิธีกรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของศาสนิกชนที่ดี เกี่ยวกับศาสนพิธี เรื่องพิธีทำบุญงานมงคล งานอวมงคล การนิมนต์พระภิกษุ การเตรียมพระพุทธรูปและเครื่องบูชาการวงด้ายสายสิญจน์ การปูลาดอาสนะ การเตรียม เครื่องรับรอง การจุดธูปเทียน ข้อปฏิบัติในการเลี้ยงพระ การถวายข้าวพระพุทธ การถวายไทยธรรม การกรวดน้ำ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุในงานศาสนพิธีที่บ้าน การจัดเตรียมอาสนะ การสนทนา การแต่งกาย มรรยาทการพูด การใช้คำพูดกับพระภิกษุตามฐานะ และการปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ในท้องถิ่นต่าง ๆ สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา เรื่องพระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธตามพุทธปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร การศึกษาเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบของพระพุทธศาสนา นำไปปฏิบัติและเผยแผ่ตามโอกาสการศึกษา การรวมตัวขององค์กรชาวพุทธ การเป็นศิษย์ที่ดีตามหลักทิศเบื้องขวาในทิศ 6 การเข้าค่ายพุทธบุตร การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การสืบค้นข้อมูล กระบวนการกลุ่ม และการอภิปราย เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัย และรักการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม เกิดการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ การตั้งคำถาม /สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) การสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Searching for Information) การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Formation) การสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ( Effective Communication )การบริการสังคมและ สาธารณะ (Pubic Service ) บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
31 รายวิชา
665 ผู้เรียน