คำอธิบายรายวิชา
รายวิชาสังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รหัสวิชา ส31104 พระพุทธศาสนา จำนวน 40 ชั่วโมง
จำนวน 1.0 หน่วยกิต เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
ศึกษาและวิเคราะห์ การปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อสาวก สมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้าง รวมถึงในพิธีกรรมและศาสนพิธีต่าง ๆ วิธีการปฏิบัติตนในการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฎฐาน
การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ รวมถึงแนวทางในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอันส่งผลต่อการพัฒนาตน ชาติและโลก
ศึกษา วิเคราะห์ ลักษณะประชาธิปไตยพระพุทธศาสนา หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์ การฝึกฝนและพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้ การก่อตั้ง วิธีการสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา (พระอนุรุทธเถระ พระองค์คุลิมาศเถระ พระธัมมทินนาเถรี จิตตคหบดี) ศาสนิกชนตัวอย่าง (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกษุ) พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)ชาดก(มโหสถชาดก) วิเคราะห์และปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ประกอบด้วยทุกข์(ขันธ์ 5 โลกธรรม8) สมุทัย(กรรมนิยม-กรรม 12 มิจฉาวณิชชา5) นิโรธ(วิมุตติ5) มรรค(อปริหานิยธรรม7) ปาปณิกธรรม 4 ทิฎฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 โภคอาทิยะ5 อริยวัฑฒิ 5 มงคล 38 (ถูกโลกธรรมจิตไม่หวั่นไหว จิตไม่เศร้าโศก จิตไม่มัวหมอง จิตเกษม )พุทธศาสนสุภาษิต (คนขยันเอาการเอางาน กระทำเหมาะสม ย่อมหาทรัพย์ได้ เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าประสบผลสำเร็จ ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก) การสังคายนาพระไตรปิฎก
โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฎิบัติและกระบวนการกลุ่ม
มีความรู้ความเข้าใจการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อสาวก สมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้าง รวมถึงในพิธีกรรมและศาสนพิธีต่าง ๆ บริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฎฐาน พัฒนาการเรียนด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ รวมถึงการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอันส่งผลต่อการพัฒนาตน ชาติและโลกเข้าใจ นำไปปฎิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาตนเองและครอบครัว มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและเกิดการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ การตั้งคำถาม /สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) การสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Searching for Information) การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Formation) การสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ( Effective Communication ) การบริการสังคมและ สาธารณะ (Pubic Service ) บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ส 1.1 ม. 4-6/2, ม. 4-6/6 , ม. 4-6/7 , ม. 4-6/8 , ม. 4-6 /12, ม.4-6 /13,
ส 1.1 ม.4.-6/14, ม.4.-6/15, ม.4-6/17, ม.4-6/19, ม.4-6/20
ส 1.2 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2 , ม. 4-6 /3, ม. 4-6 /4 , ม.4-6/5
28 รายวิชา
670 ผู้เรียน